
ประวัติความเป็นมาของ กีฬาฟุตบอล
ความเป็นมาของฟุตบอลจะถือกำเนิดขึ้นมาอย่างชัดเจนในช่วง ปี พ.ศ. 2406 และผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นประเทศแรกในการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลและการนำมาเล่นอย่างแพร่หลาย คือ ประเทศอังกฤษ
โดยเป็นการนำลูกหนังทรงกลมมาเล่นกันอย่างแพร่หลายและมีการแบ่งผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน ซึ่งชาติที่ให้กำเนิด กีฬาฟุตบอล นั้นยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด แต่จะมีอยู่ 2 ประเทศที่มีชื่อว่าอาจจะเป็นต้นกำเนิดของฟุตบอล คือ ฝรั่งเศสและอิตาลี
แต่สำหรับการเล่นแบบจริงจังจนสามารถตั้งเป็นสมาคมและมีการขึ้นทะเบียนกีฬาอย่างเป็นทางการจะมาในชื่อของประเทศอังกฤษ พร้อมการสร้างฟุตบอลให้กลายมาเป็นกีฬาอาชีพครั้งแรกในปี พ.ศ. 2431 ที่ประเทศอังกฤษด้วยเช่นกัน ปัจจุบันการแข่งขันฟุตบอลจะถูกวางกฎและระเบียบจากทางฟีฟ่าที่ถือว่าเป็นองค์กรระดับนานาชาติของ บอล ที่ใหญ่ที่สุด ทั้งยังเป็นผู้จัดการแข่งขันใหญ่อย่างฟุตบอลโลกที่จะเกิดขึ้นในทุก 4 ปี เพื่อสรรหาทีมฟุตบอลที่แข็งแกร่งที่สุดมารับรางวัลอันทรงเกียรตินี้อีกด้วย
วิธีเล่นฟุตบอลอย่างถูกต้อง
ฟุตบอล คือ กีฬาที่จะมีการแบ่งการเล่นเป็น 2 ทีมและจะต้องสู้กันด้วยการเตะบอลภายในสนาม แต่ละทีมจะต้องมีผู้เล่นทั้งหมด 11 คนและจะมีการแบ่งตำแหน่งของผู้เล่นแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน พร้อมการใช้อุปกรณ์ในการเล่นที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุดภายในสนาม คือ ลูกฟุตบอล ที่มีลักษณะเป็นทรงกลม ส่วนการแข่งขันจะต้องเล่นบนสนามหญ้าจริงหรือสนามหญ้าเทียม รูปทรงสนามเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและจะมีประตูที่อยู่ริมสนามของทั้งสองฝั่งและจะต้องอยู่ตรงกึ่งกลางของเส้นขอบสนาม มาพร้อมกับกติกาต่าง ๆ ที่ถูกคิดขึ้นอย่างเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของผู้คนทั่วโลกจากฟีฟ่า สำหรับเวลาในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 90 นาที และจะมีการแบ่งครึ่งละ 45 นาที พัก 15 นาที ถ้าเกมยืดเยื้อจากอาการบาดเจ็บจะมีการทดเวลาบาดเจ็บหรือถ้าคะแนนเท่ากันก็จะมีการต่อเวลาออกไปอีกครึ่งละ 15 นาที รวมแล้วการต่อเวลาพิเศษอาจมีสูงสุดถึง 30 นาทีเลยทีเดียว
ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย
กีฬาฟุตบอล ในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ “เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)” หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า “ครูเทพ” ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น “เพลงอมตะ” และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย
พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน “แบบพบกันหมด” (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม “เสือป่า” และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า “พระเจ้าเสือป่า” พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไปจนตราบเท่าทุกวันนี้
จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ” (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา “ครูทอง” ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล” และ “คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ” (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องการเล่นฟุตบอล” และ “พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน” (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง “เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล”
พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน
และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง” การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล
ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคน เช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย
ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่างจังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง “สโมสรคณะฟุตบอลสยาม” ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง
รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์
2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี
3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบ และเป็นกีฬาที่ประหยัดดี
4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามาจนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้
พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง “ทีมชาติสยาม” กับ “ทีมราชกรีฑาสโมสร” ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี “มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน” เป็นผู้ตัดสิน
ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิตและผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0)