
การประท้วงหน้าสนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด จากแฟนบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เลยเถิดจนกลายเป็นการจราจลและเข้าไปป่วนถึงกลางสนามแข่งขัน ที่ทำให้ที่สุดแล้วเกมระหว่าง แมนฯ ยูไนเต็ด กับ ลิเวอร์พูล ต้องเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด
หลังจากเหตุการณ์นั้นหลากหลายการวิจารณ์เกิดขึ้น บ้างก็ว่าแฟนบอลท้องถิ่นเป็นหัวหัวแข็ง ยึดติดอดีต และเห็นแก่ตัว จนทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทุกฝ่าย และอาจจะทำให้สโมสรโดนลงโทษอย่างร้ายแรงก็เป็นได้ เล่นสล็อตออนไลน์
แต่หากมองข้ามผลลัพธ์ไป คุณสงสัยไหมว่าทำไมพวกเขาจึงกล้าทำขนาดนั้น ?
และนี่คือเหตุผลของเรื่องทั้งหมด จุดเริ่มต้นที่ทำให้แฟนบอล แมนฯ ยูไนเต็ด เดินเป็นเส้นขนานกับเจ้าของสโมสร “ของพวกเขา” ในแบบที่ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ
ติดตามเรื่องราวตลอด 16 ปี ได้ที่นี่
2005 … จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง
ปี 2005 คือจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์คู่ขนานที่ไม่มีวันบรรจบของแฟนบอล แมนฯ ยูไนเต็ด กับเจ้าของใหม่ชาวอเมริกันของพวกเขา “มัลคอล์ม เกลเซอร์”
ตระกูลเกลเซอร์ เป็นเจ้าของบริษัทอหสังหาริมทรัพย์ที่ชื่อว่า First Allied Corparation ก่อนจะขยับขยายเส้นทางธุรกิจมาประสบความสำเร็จในด้านบริหารทีมกีฬา พวกเขาเป็นเจ้าของทีม แทมปาเบย์ บัคคาเนียร์ส ในอเมริกันฟุตบอล NFL ที่ทำให้แฟรนไชส์เติบโต คว้าแชมป์ซูเปอร์โบวล์ พร้อม ๆ กับสร้างกำไร เครดิตจากตรงนั้นเองที่ทำให้พวกเขามาพร้อมกับเงินก้อนใหญ่ มูลค่าเกือบ 800 ล้านปอนด์ เพื่อเข้าเทคโอเวอร์สโมสร หลังทยอยซื้อหุ้นสะสมจากผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ มาตั้งแต่ปี 2003 จนมีสัดส่วนมากพอเพื่อการนี้
แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งด้านธุรกิจอยู่แล้ว ดังนั้นหลังจากการเข้ามาบริหารของ มัลคอล์ม และตระกูลเกลเซอร์ (ลูก ๆ) ไม่ว่าสโมสรจะประสบความสำเร็จในสนามหรือไม่นั่นไม่สำคัญ เพราะในแง่การตลาด สโมสรแห่งนี้ทำเงินได้มากมายในแต่ละปี พวกเขาเป็นสโมสรที่มีมูลค่าระดับท็อป 3 ของโลกมาโดยตลอด ซึ่งผลลัพธ์ตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบัน เว็บไซต์ Goal.com ยืนยันว่า ตระกูลเกลเซอร์ได้รับเงินปันผลจากทีมปีศาจแดงไปแล้วมากกว่า 1 พันล้านปอนด์ และนี่คือเส้นทางการทำเงินของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังการเทคโอเวอร์ของตระกูลเกลเซอร์แตกต่างกับที่มหาเศรษฐีคนอื่น ๆ เข้ามาซื้อสโมสรฟุตบอลในยุโรป เพราะอย่างกรณีของ โรมัน อบราโมวิช เจ้าของทีม เชลซี และ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน เจ้าของสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ต่างก็ใช้ทรัพย์สินของตัวเองเพื่อเข้าเทคโอเวอร์ทีมที่ได้กล่าวมา ขณะที่ตระกูลเกลเซอร์นั้น ใช้เงินของตัวเอง 270 ล้านปอนด์ และอีก 520 ล้านปอนด์ที่เหลือ พวกเขาใช้การกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อเข้ามาซื้อสโมสรครั้งนั้น … แค่เริ่มเข้ามายังไม่ทันไรเขาก็สร้างหนี้ให้กับสโมสรเสียแล้ว นั่นคือสิ่งที่แฟน ๆ ยูไนเต็ด หลายคนคิด
ไม่ว่าเงินจะมาจากไหนไม่สำคัญ เมื่อสโมสรแห่งนี้เป็นของพวกเขาแล้ว หน้าที่ของพวกเขาคือการบริหารให้ได้กำไร และดังที่กล่าวไปข้างต้น พวกเขาได้เงินจากทีมไปมากกว่า 1,000 ล้านปอนด์ ก็แสดงให้เห็นว่าการลงทุนของพวกเขาประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี